About Me !

รูปภาพของฉัน
เพชรบุรี, กลาง, Thailand
16 ณภัทร์กมล > FeronZo** <

วันพฤหัสบดีที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2552

พบ 2 พืชชนิดใหม่ของโลกในไทย สารมีฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็ง


เปิดตัว 2 พรรณไม้ชนิดใหม่ของโลก พบเฉพาะในไทย "บุหรงช้าง-บุหรงดอกทู่" นักวิจัย วว. เร่งหาวิธีขยายพันธุ์ป้องกันไม่ให้หมดจากป่า พร้อมศึกษาสารออกฤทธิ์ทางยาก่อนต่างชาติฉกไปวิจัย เบื้องต้นพบกลุ่มสารสำคัญมีฤทธิ์คล้ายสารต้านมะเร็ง ปีหน้าเตรียมสกัดทดสอบประสิทธิภาพ ยับยั้งเซลล์มะเร็งก่อนถูกต่างชาติตัดหน้าเอาพืชไทยไปวิจัยและจดสิทธิบัตรในต่างประเทศ พรรณไม้ 2 ชนิดใหม่ของโลก ได้แก่ "บุหรงช้าง" และ "บุหรงดอกกระทู่" ซึ่งเป็นพรรณไม้ถิ่นเดียวของไทยที่ค้นพบและศึกษาโดย ทีมวิจัยของ ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ซึ่งได้ตีพิมพ์ผลการวิจัยในวารสาร ซิสเทมาติก บอทานี (Systematic Botany) ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 ประจำปี 2552 เมื่อช่วงกลางปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวารสารการจำแนกพรรณไม้นานาชาติของสหรัฐอเมริกา ดร.ปิยะ เปิดเผยกับทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTVผู้จัดการออนไลน์ และสื่อมวลชนว่า เขาและทีมวิจัยสำรวจพบบุหรงช้างครั้งแรกเมื่อปี 2544 ในป่าดิบชื้นของ อ.แว้ง จ.นราธิวาส ที่ระดับความสูงประมาณ 300-500 เมตร ซึ่งพบอยู่เพียงไม่กี่ต้น แต่เนื่องจากบริเวณดังกล่าวอยู่ใกล้กับชายแดนไทยมาเลเซีย จึงต้องร่วมกับนักวิจัยมาเลเซียศึกษาเป็นเวลาหลายปี กว่าจะพบว่าพืชชนิดดังกล่าวยังไม่เคยมีรายงานการค้นพบในมาเลเซียมาก่อน และเป็นพืชชนิดใหม่ของโลก ส่วนบุหรงดอกทู่นั้น ดร.ปิยะ สำรวจพบมานานกว่า 10 ปีแล้ว ในป่าดิบเขา อ.แม่ฟ้าหลวง และ อ.เมือง จ.เชียงราย ที่ระดับความสูง 800-1,600 เมตร แต่เนื่องจากมีลักษณะคล้ายคลึงกับบุหรงที่พบในจีน จึงยังไม่รายงานว่าเป็นพืชชนิดใหม่ ทว่าเมื่อร่วมกับนักวิจัยจีนศึกษาพืชดังกล่าวอย่างละเอียดแล้วจึงพบว่าแตกต่างจากบุหรงชนิดอื่นๆ เมื่อราว 2 ปีก่อน จึงรายงานว่าเป็นบุหรงชนิดใหม่ของโลกอีกชนิดหนึ่ง อย่างไรก็ตาม พืชใหม่ทั้ง 2 ชนิดดังกล่าวจัดเป็นพรรณไม้หายากและเป็นพรรณไม้ถิ่นเดียวของไทย ที่มีเหลืออยู่ในธรรมชาติจำนวนน้อยมากเมื่อเทียบกับบุหรงทั่วไปที่นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ประกอบกับภูมิปัญญาชาวบ้านนิยมนำลำต้นของบุหรงมาดองเหล้า เพื่อดื่มกินเป็นยารักษาอาการปวดเมื่อย นักวิจัยจึงหวั่นว่าหากไม่เร่งอนุรักษ์ไว้ พรรณไม้ชนิดใหม่ของ 2 ทั้งสองชนิดนี้อาจสูญพันธุ์ได้ นักวิจัยจึงเร่งศึกษาวิธีขยายพันธุ์บุหรงดอกทู่ โดยร่วมกับองค์การสวนพฤกษศาสตร์ จ.เชียงใหม่ ซึ่งประสบความสำเร็จในการขยายพันธุ์และได้ต้นบุหรงดอกทู่จากการทาบกิ่งแล้วจำนวนกว่า 10 ต้น ส่วนบุหรงช้างยังไม่สามารถขยายพันธุ์ได้ เนื่องจากเติบโตอยู่ในพื้นที่เข้าถึงยาก นักวิจัยยังไม่สามารถนำตัวอย่างต้นที่มีชีวิตออกมาจากพื้นที่ที่ค้นพบได้ ได้เพียงแต่ตัวอย่างบางของลำต้นเพียงบางส่วนเท่านั้น นอกจากนั้น วว. ยังได้ร่วมกับคณะเภสัชศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยมหิดล และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการศึกษาสารออกฤทธิ์ทางยาจากต้นบุหรงช้างและบุหรงดอกทู่ เบื้องต้นพบสารในกลุ่มเดซีมาสชาลอน (Dasymaschalon) ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับสารกลุ่มที่มีฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งได้ จึงมีโอกาสนำมาพัฒนาเป็นยาต้านมะเร็งได้ โดยในปีหน้าทีมวิจัยจะเร่งสกัดสารดังกล่าวออกมาทดสอบประสิทธิภาพการยับยั้งเซลล์มะเร็ง "หากเราไม่เร่งศึกษาวิจัยให้รู้ผลก่อน ต่างชาติอาจมานำพืชชนิดใหม่ของเราไปวิจัยและจดสิทธิบัตรก่อนเหมือนกับหลายกรณีที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว ซึ่งประเทศเราเป็นเจ้าของพรรณพืชแต่กลับไม่ได้รับผลประโยชน์ใดๆ เลย" ดร.ปิยะกล่าว ทั้งนี้ บุหรงเป็นไม้ในวงศ์กระดังงา ที่พบแล้วทั่วโลกขณะนี้มีประมาณ 30 ชนิด ส่วนใหญ่พบในป่าเขตร้อนแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยขณะนี้พบในไทยแล้ว 12 ชนิด ทั้งนี้ บุหรงช้าง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า เดซีมาสชาลอน แกรนดิฟรอลัม (Dasymaschalon grandifrolum Jing Wang, Chalermglin & R.M.K. Saunders) ลักษณะเด่นคือมีดอกและผลขนาดใหญ่ที่สุดในสกุลบุหรง จึงเรียกว่าบุหรงช้าง โดยแต่ละดอกมีกลีบดอก 3 กลีบ ยาวประมาณ 16-18 เซนติเมตร ดอกบานในช่วงเดือน ก.พ.-เม.ย. มีผลทรงกระบอกยาวประมาณ 3-6 เซนติเมตร และเป็นบุหรงชนิดเดียวในขณะนี้ที่เป็นไม้เถา เถาเลื้อยได้ไกลถึง 15 เมตร ส่วนบุหรงดอกทู่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า เดซีมาสชาลอน ออบทูซิเพทาลัม (Dasymaschalon obtusipetalum Jing Wang, Chalermglin and R.M.K. Saunders) เป็นไม้พุ่ม สูง 4-6 เมตร ดอกออกที่ปลายยอด ก้านดอกยาว 4.5 เซนติเมตร กลีบดอกมี 3 กลีบ กว้าง 1-1.5 เซนติเมตร ยาว 1.5-3 เซนติเมตร ขอบกลีบบรรจบกันเป็นแท่งสามเหลี่ยม ตอนปลายดอกทู่และไม่บิด ดอกบานในเดือน พ.ค.-มิ.ย.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น